วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
เครื่องบินกระดาษ
แบบที่1
เครื่องบินกระดาษ:- พับด้วยวิธีนี้แล้วจะสามารถบินได้ไกลถึง 300 เมตร..เลยทีเดียว การใช้กระดาษพับเครื่องบินนั้นตามปกติแล้วจะบินไม่ได้ไกลนัก,บางที ปาไปยังไม่ทันบินก็ตกลงมาแล้ว เพราะเป็นว่าความทรงตัวอาจจะไม่ดี หรือบางครั้งก็อาจ จะบินไปได้แต่แบบไม่ตรงคือเอียงไปเอียงมาก็มี..เรียกว่าไม่ได้อย่างใจอะไรทำนองนั้น.... ในเคล็ดลับการพับเครื่องบินกระดาษที่เราได้นำมาเสนออันนี้ ได้ทำการคิดค้น จากนักคิดค้นหรือสร้างแปรนเครื่องบินเลยทีเดียว ดังนั้นวิธีพับวิธีนี้จึงอาจที่จะ เรียกได้ว่าเป็นวิธีพับแบบพิเศษ...ใช้กระดาษแค่แผ่นเดียวเท่านั้น...ก็สามารถที่ จะพับเครื่องบินกระดาษที่บินได้ไกลถึง 300 เมตร...น่าทึ่งมาก ทำไม?..การพับตามวิธีนี้เครื่องบินกระดาษจึงสามารถที่จะบินได้ไกลและการทรงตัวดีล่ะ??? ตรงนี้ก็เป็นด้วยว่าการที่เราได้ติดเทปลงไปที่ตรงหัวของเครื่องบินกระดาษและอีกจุดที่สำคัญ ก็ตรงที่ได้ใช้เล็บกดลงไปตรงปีกทั้งสองข้างอย่างที่เห็นในรูป.... และเครื่องบินกระดาษของเรานี้นอกจากจะบินได้ไกลถึงประมาณ 300 เมตรแล้ว ยังสามารถนำไป ปาลงมาจากที่สูง ๆ คือสูงประมาณ 56 เมตร ก็สามารถที่จะบินไปตามสายลมได้ไกลถึง 388.45 เมตร ได้อีกเสียด้วย..ลองนำไปพับดูนะคะ...นับรองว่าเด็ก ๆ จะต้องถูกใจอย่างแน่นอน...
แบบที่2 กระดาษจรวด
แบบที่ 3....เครื่องบินกระดาษ
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
นักพับกระดาษระด้บโลก
เคยสงสัยไหมครับว่า คนที่ออกแบบและพับสุดยอดมังกรเหล่านี้เขาทำอย่างไร
ตามไปดูคลิปยอดนักพับกระดาษระดับโลก Satoshi Kamiya กันหน่อย
เผื่อจะสร้างแรงบันดาลใจได้บ้างครับ
เผื่อจะสร้างแรงบันดาลใจได้บ้างครับ
ติดตามในวันพรุ้งนี้คับ
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การพับกระดาษ จากศิลปะโบราณ..สู่วิทยาการไฮเทค ตอนที่ 2
ชื่อกันว่าแต่เดิมนั้น แบบพับกระดาษรูปร่างต่างๆ น่าจะเกิดจากการที่นักพับใช้วิธีการลองผิด-ลองถูก หรือ "ด้น" ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งรูปร่างของกระดาษพับไปคล้ายกับอะไรสักอย่าง จากนั้นก็ทำการแต่งเติมลักษณะต่างๆ เพิ่มเข้าไป เช่น สำหรับนกกระดาษ หากพับงอส่วนปลายแหลม ก็จะกลายเป็นหัว หากปล่อยทิ้งไว้ ก็กลายเป็นหาง อะไรทำนองนี้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ทีนี้ หากมีรูปร่างอะไรสักอย่างเป็นต้นทางแล้วก็อาจจะดัดแปลงได้อีก เช่น เดิมเคยพับกบได้ แต่พอพับใหม่ไปได้บางขั้น ก็อาจฉีกแนวพับไปทางอื่นๆ กลายเป็นดอกไม้แบบต่างๆ หรือแม้กระทั่งหอยทาก การที่แบบพับต่างๆ มีจุดเริ่มต้นคล้ายกันนี้ เรียกว่า แบบพับทั้งหมดมี ฐานแบบพับ (base) เดียวกัน โดยในกรณีนี้เรียกว่า ฐานแบบพับรูปกบ (frog base)
การพับกระดาษในอดีตนั้น มีฐานแบบพับหลักๆ อยู่เพียงไม่กี่แบบ เช่น ฐานแบบพับรูปกบ (frog base) รูปนก (bird Base) รูปหมู (pig base) รูปปลา (fish base) และรูปว่าวกับรูปเพชร (kite and diamond bases) เป็นต้น
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ทีนี้ หากมีรูปร่างอะไรสักอย่างเป็นต้นทางแล้วก็อาจจะดัดแปลงได้อีก เช่น เดิมเคยพับกบได้ แต่พอพับใหม่ไปได้บางขั้น ก็อาจฉีกแนวพับไปทางอื่นๆ กลายเป็นดอกไม้แบบต่างๆ หรือแม้กระทั่งหอยทาก การที่แบบพับต่างๆ มีจุดเริ่มต้นคล้ายกันนี้ เรียกว่า แบบพับทั้งหมดมี ฐานแบบพับ (base) เดียวกัน โดยในกรณีนี้เรียกว่า ฐานแบบพับรูปกบ (frog base)
การพับกระดาษในอดีตนั้น มีฐานแบบพับหลักๆ อยู่เพียงไม่กี่แบบ เช่น ฐานแบบพับรูปกบ (frog base) รูปนก (bird Base) รูปหมู (pig base) รูปปลา (fish base) และรูปว่าวกับรูปเพชร (kite and diamond bases) เป็นต้น
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นักพับกระดาษได้ทดลองดัดแปลงฐานรูปต่างๆ เหล่านี้ไปเป็นแบบต่างๆ มากมายจนเรียกได้ว่า หากคุณเริ่มจากฐานได้ฐานหนึ่ง แล้วพับไปเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้มากที่ว่าคุณจะได้แบบพับที่ซ้ำกับสิ่งที่คนอื่นพับมาก่อนหน้านี้แล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ แบบพับคลาสสิกเหล่านี้ได้ถูกสำรวจและดัดแปลงพับจน (แทบจะ) หมดสิ้นแล้วนั่นเอง
ในราวทศวรรษที่ 1970 ได้เกิดมีแนวคิดใหม่ในศาสตร์แห่งการพับกระดาษ จุดเริ่มต้นมาจากข้อสังเกตที่ว่า หากเราคลี่แบบพับหนึ่งๆ ออกมา เราจะเห็นรอยพับและมุมบรรจบต่างๆ โดยความซับซ้อนของรอยพับขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นในการพับนั่นเอง
ในราวทศวรรษที่ 1970 ได้เกิดมีแนวคิดใหม่ในศาสตร์แห่งการพับกระดาษ จุดเริ่มต้นมาจากข้อสังเกตที่ว่า หากเราคลี่แบบพับหนึ่งๆ ออกมา เราจะเห็นรอยพับและมุมบรรจบต่างๆ โดยความซับซ้อนของรอยพับขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นในการพับนั่นเอง
คำถามย้อนกลับที่สำคัญก็คือ หากเราต้องการรูปร่างหนึ่งๆ ในแบบพับ เช่น ขากบ ปีกนก หรือก้ามปู เราจะมีวิธีการออกแบบรอยพับ และขั้นตอนการพับอย่างไร ? การตอบคำถามนี้เองนำไปสู่การ "ออกแบบ" รูปร่างของแบบพับออริกามิอย่างเป็นระบบ โดยการพับรูปแบบต่างๆ จะมีเทคนิคเฉพาะตัว (technical folding) เทคนิคนี้ให้ผลอย่างน่าทึ่ง เพราะรูปร่างที่ได้จะคล้ายกับของจริงอย่างมาก ดูได้จาก "กบ" ซึ่งพับโดย โรเบิร์ต เจ แลง (Robert J. Lang) เป็นตัวอย่าง
แม้กลุ่มคนที่ช่วยกันสร้างสรรค์ออริกามิแนวใหม่จะมีหลายคน แต่ดูเหมือนโรเบิร์ต เจ แลง น่าจะเป็นตัวแทนได้ดี เขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านเลเซอร์โดยอาชีพ แต่รักการพับกระดาษมาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ และพับเป็นงานอดิเรกเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาพบว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมที่เขาร่ำเรียนมานั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการพับกระดาษด้วยเช่นกัน เช่น ในการพับยุบท่อกลวงผิวบางให้กลายเป็นแผ่นแบนๆ นั้น ในทางคณิตศาสตร์ก็เปรียบเสมือนโจทย์ที่ว่าจะจัดเรียงชิ้นส่วนย่อยแต่ละชิ้นให้วางอยู่ในระนาบเดียวกันได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
ด้วยวิธีคิดทำนองนี้เอง โรเบิร์ต เจ แลง จึงได้พัฒนาโปรแกรม TreeMaker ซึ่งใช้ในการคำนวณว่า กระดาษควรจะถูกพับตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีรูปแบบสุดท้ายตามต้องการ ตัวอย่างการคำนวณรอยพับของปู ซึ่งมีก้ามสองข้างขนาดต่างกันเป็นดังรูป
นี่คือ ผลผลิตหนึ่งของศาสตร์ใหม่ ที่เรียกว่า ออริกามิเชิงคำนวณ (Computational Origami) ซึ่งเปิดพื้นที่ให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เข้ามาร่วมสนุกกับศิลปินและใครก็ตามที่หลงใหลในศิลปะการพับกระดาษ
แม้กลุ่มคนที่ช่วยกันสร้างสรรค์ออริกามิแนวใหม่จะมีหลายคน แต่ดูเหมือนโรเบิร์ต เจ แลง น่าจะเป็นตัวแทนได้ดี เขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านเลเซอร์โดยอาชีพ แต่รักการพับกระดาษมาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ และพับเป็นงานอดิเรกเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาพบว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมที่เขาร่ำเรียนมานั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการพับกระดาษด้วยเช่นกัน เช่น ในการพับยุบท่อกลวงผิวบางให้กลายเป็นแผ่นแบนๆ นั้น ในทางคณิตศาสตร์ก็เปรียบเสมือนโจทย์ที่ว่าจะจัดเรียงชิ้นส่วนย่อยแต่ละชิ้นให้วางอยู่ในระนาบเดียวกันได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
ด้วยวิธีคิดทำนองนี้เอง โรเบิร์ต เจ แลง จึงได้พัฒนาโปรแกรม TreeMaker ซึ่งใช้ในการคำนวณว่า กระดาษควรจะถูกพับตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีรูปแบบสุดท้ายตามต้องการ ตัวอย่างการคำนวณรอยพับของปู ซึ่งมีก้ามสองข้างขนาดต่างกันเป็นดังรูป
นี่คือ ผลผลิตหนึ่งของศาสตร์ใหม่ ที่เรียกว่า ออริกามิเชิงคำนวณ (Computational Origami) ซึ่งเปิดพื้นที่ให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เข้ามาร่วมสนุกกับศิลปินและใครก็ตามที่หลงใหลในศิลปะการพับกระดาษ
การถือกำเนิดของออริกามิเชิงคำนวณแสดงให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตาม ที่มีคนรู้จริงซึ่งสามารถผสมผสานภูมิปัญญาจากสาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนแล้วละก็ ผลผลิตที่ได้ย่อมจะมีความงดงามและทรงพลังอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
การพับกระดาษ จากศิลปะโบราณ..สู่วิทยาการไฮเทค ตอนที่ 1
คุณผู้อ่านคงจะเคยพับกระดาษเป็นรูปร่างต่างๆ กันมาบ้างแล้ว และอาจจะสงสัยว่า ใครกันหนอที่ซนซะจริงๆ เอากระดาษแผ่นแบนๆ มาพับไป-พับมาจนมีรูปร่างคล้ายสิ่งต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น นก เรือ เครื่องบิน ดอกบัว หรือแม้กระทั่งหัวหมู
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เรื่องนี้หากดูชื่อที่ฝรั่งเรียกการพับกระดาษว่า ออริกามิ (origami) ตามภาษาญี่ปุ่น ก็อาจจะทำให้เข้าใจไปว่า ญี่ปุ่นเป็นแหล่งให้กำเนิดศิลปะแขนงนี้เพียงเจ้าเดียว แต่ที่จริงแล้วการพับกระดาษยังมีต้นกำเนิดอีกสายหนึ่งมาจากประเทศสเปน ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากนกปาคารีตา (pajarita) อันเป็นแบบพับสายพันธุ์สเปน (ตัว J หรือ โคตา ในภาษาสเปนถอดเสียงเป็น ‘ค’)
ศิลปะการพับกระดาษของสเปนนี้ตามประวัติบอกว่ามาจากพวกมัวร์ (Moore) ซึ่งบุกเข้ามายึดครองสเปนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 พวกมัวร์เป็นชนเผ่ามุสลิมที่มาจากแถบแอฟริกาเหนือ โดยพวกมัวร์นี้พับกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ เนื่องจากในศาสนาอิสลามห้ามการสร้างรูปสัตว์ ต่อมาชาวคริสต์ชิงดินแดนสเปนคืนกลับมาได้ในปี ศ.ศ.1492 และจากสเปนนี้เองศิลปะการพับกระดาษสายยุโรปได้แพร่เข้าสู่ประเทศทางแถบอเมริกาใต้ที่เป็นอาณานิคมของสเปน
ย้อนกลับมา ณ ดินแดนปลาดิบ…บางคนเชื่อว่าการพับกระดาษน่าจะมาจากจีนซึ่งเป็นสถานที่ให้กำเนิดกระดาษ โดยกระดาษแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ข้อสันนิษฐานนี้น่าสงสัย เพราะไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการพับกระดาษของจีนโบราณเลย
ในยุคแรกๆ นั้นกระดาษเป็นของหายากและมีราคาแพง ทำให้การพับกระดาษในญี่ปุ่นจำกัดอยู่ในแวดวงพิธีกรรมทางศาสนา หรือพวกคนชั้นสูง (เช่น ซามูไร) เท่านั้น ต่อมาเมื่อกระดาษผลิตได้ง่ายขึ้น ราคาก็ถูกลง ทำให้การพับกระดาษแพร่หลายออกไปในวงกว้าง แต่การถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ทำโดยการสอนจากแม่สู่ลูก โดยยังไม่มีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
แล้วเอกสารที่กล่าวถึงการพับกระดาษของญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดล่ะคืออะไร? เรื่องนี้ตอบได้หลายแบบ เช่น ในปี ค.ศ.1680 มีร้อยกรองสั้นๆ แต่งโดยอิฮะระ ไซกะกุ (Ihara Saikaku) กล่าวถึงกระดาษพับรูปผีเสื้อ ส่วนในปี ค.ศ.1764 ก็มีหนังสือ สึสึมิ-โนะ กิ (Tsutsumi-no Ki) ซึ่งมีแบบพับกระดาษสำหรับพิธีเฉลิมฉลอง
ในยุคแรกๆ นั้นกระดาษเป็นของหายากและมีราคาแพง ทำให้การพับกระดาษในญี่ปุ่นจำกัดอยู่ในแวดวงพิธีกรรมทางศาสนา หรือพวกคนชั้นสูง (เช่น ซามูไร) เท่านั้น ต่อมาเมื่อกระดาษผลิตได้ง่ายขึ้น ราคาก็ถูกลง ทำให้การพับกระดาษแพร่หลายออกไปในวงกว้าง แต่การถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ทำโดยการสอนจากแม่สู่ลูก โดยยังไม่มีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
แล้วเอกสารที่กล่าวถึงการพับกระดาษของญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดล่ะคืออะไร? เรื่องนี้ตอบได้หลายแบบ เช่น ในปี ค.ศ.1680 มีร้อยกรองสั้นๆ แต่งโดยอิฮะระ ไซกะกุ (Ihara Saikaku) กล่าวถึงกระดาษพับรูปผีเสื้อ ส่วนในปี ค.ศ.1764 ก็มีหนังสือ สึสึมิ-โนะ กิ (Tsutsumi-no Ki) ซึ่งมีแบบพับกระดาษสำหรับพิธีเฉลิมฉลอง
ปูตามแบบพับคลาสสิกของญี่ปุ่น (มีแบบพับในขุมทรัพย์ทางปัญญา)
แต่หากกล่าวถึงการพับกระดาษเพื่อความเพลิดเพลิน ก็ต้องบอกว่าหนังสือ เซมบาซุรุ โอริกาตะ (Sembazuru Orikata) หรือ การพับนกกระเรียนพันตัว ซึ่งออกเผยแพร่ในปี ค.ศ.1797 เป็นหนังสือสอนพับกระดาษเล่มแรกของโลก คำว่า เซมบาซุรุ แปลตรงๆ ว่า นกกระเรียนหนึ่งพันตัว แต่ในหนังสือเล่มนี้ หมายถึง นกกระเรียนหลายๆ ตัวที่เชื่อมต่อกัน โดยพับจากกระดาษแผ่นเดียว แต่มีรอยตัดที่บางตำแหน่ง
วงการพับกระดาษในญี่ปุ่นและในโลกมีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก จวบจนราวทศวรรษที่ 1950 ยอดนักพับกระดาษชื่อ โยชิซะวะ อะกิระ (Yoshizawa Akira) ได้คิดแบบพับใหม่ๆ หลายแบบ วิธีการพับใหม่ๆ (เช่น พับกระดาษหนาๆ ขณะเปียก แล้วปล่อยให้แห้ง) รวมทั้งร่วมคิดสัญลักษณ์วิธีการพับซึ่งกลายเป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารของผู้ที่หลงใหลในการพับกระดาษ นับจากเวลานั้นเอง ศิลปะแห่งออริกามิที่ซบเซามานานก็เบ่งบานสะพรั่งไปทั่วโลก
แต่หากกล่าวถึงการพับกระดาษเพื่อความเพลิดเพลิน ก็ต้องบอกว่าหนังสือ เซมบาซุรุ โอริกาตะ (Sembazuru Orikata) หรือ การพับนกกระเรียนพันตัว ซึ่งออกเผยแพร่ในปี ค.ศ.1797 เป็นหนังสือสอนพับกระดาษเล่มแรกของโลก คำว่า เซมบาซุรุ แปลตรงๆ ว่า นกกระเรียนหนึ่งพันตัว แต่ในหนังสือเล่มนี้ หมายถึง นกกระเรียนหลายๆ ตัวที่เชื่อมต่อกัน โดยพับจากกระดาษแผ่นเดียว แต่มีรอยตัดที่บางตำแหน่ง
วงการพับกระดาษในญี่ปุ่นและในโลกมีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก จวบจนราวทศวรรษที่ 1950 ยอดนักพับกระดาษชื่อ โยชิซะวะ อะกิระ (Yoshizawa Akira) ได้คิดแบบพับใหม่ๆ หลายแบบ วิธีการพับใหม่ๆ (เช่น พับกระดาษหนาๆ ขณะเปียก แล้วปล่อยให้แห้ง) รวมทั้งร่วมคิดสัญลักษณ์วิธีการพับซึ่งกลายเป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารของผู้ที่หลงใหลในการพับกระดาษ นับจากเวลานั้นเอง ศิลปะแห่งออริกามิที่ซบเซามานานก็เบ่งบานสะพรั่งไปทั่วโลก
ราวทศวรรษที่ 1970 ศิลปะการพับกระดาษก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง มีการคิดค้นเทคนิคการพับอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้รูปร่างต่างๆ ตามต้องการ และในปัจจุบันได้มีการใช้คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์มาช่วยเสริมจินตนาการให้กลายเป็นรูปธรรม
เต่าทะเล ฝีมือสตีเฟน ไวส์ มีแบบพับในขุมทรัพย์ทางปัญญา
ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดอดใจรอครั้งหน้า ตอนนี้ผมขอนำตัวอย่างแบบพับสวยๆ มายั่วให้คันไม้คันมือเล่นไปพลางๆ ก่อนครับ ^__^
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)