คุณผู้อ่านคงจะเคยพับกระดาษเป็นรูปร่างต่างๆ กันมาบ้างแล้ว และอาจจะสงสัยว่า ใครกันหนอที่ซนซะจริงๆ เอากระดาษแผ่นแบนๆ มาพับไป-พับมาจนมีรูปร่างคล้ายสิ่งต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น นก เรือ เครื่องบิน ดอกบัว หรือแม้กระทั่งหัวหมู
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เรื่องนี้หากดูชื่อที่ฝรั่งเรียกการพับกระดาษว่า ออริกามิ (origami) ตามภาษาญี่ปุ่น ก็อาจจะทำให้เข้าใจไปว่า ญี่ปุ่นเป็นแหล่งให้กำเนิดศิลปะแขนงนี้เพียงเจ้าเดียว แต่ที่จริงแล้วการพับกระดาษยังมีต้นกำเนิดอีกสายหนึ่งมาจากประเทศสเปน ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากนกปาคารีตา (pajarita) อันเป็นแบบพับสายพันธุ์สเปน (ตัว J หรือ โคตา ในภาษาสเปนถอดเสียงเป็น ‘ค’)
ศิลปะการพับกระดาษของสเปนนี้ตามประวัติบอกว่ามาจากพวกมัวร์ (Moore) ซึ่งบุกเข้ามายึดครองสเปนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 พวกมัวร์เป็นชนเผ่ามุสลิมที่มาจากแถบแอฟริกาเหนือ โดยพวกมัวร์นี้พับกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ เนื่องจากในศาสนาอิสลามห้ามการสร้างรูปสัตว์ ต่อมาชาวคริสต์ชิงดินแดนสเปนคืนกลับมาได้ในปี ศ.ศ.1492 และจากสเปนนี้เองศิลปะการพับกระดาษสายยุโรปได้แพร่เข้าสู่ประเทศทางแถบอเมริกาใต้ที่เป็นอาณานิคมของสเปน
ย้อนกลับมา ณ ดินแดนปลาดิบ…บางคนเชื่อว่าการพับกระดาษน่าจะมาจากจีนซึ่งเป็นสถานที่ให้กำเนิดกระดาษ โดยกระดาษแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ข้อสันนิษฐานนี้น่าสงสัย เพราะไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการพับกระดาษของจีนโบราณเลย
ในยุคแรกๆ นั้นกระดาษเป็นของหายากและมีราคาแพง ทำให้การพับกระดาษในญี่ปุ่นจำกัดอยู่ในแวดวงพิธีกรรมทางศาสนา หรือพวกคนชั้นสูง (เช่น ซามูไร) เท่านั้น ต่อมาเมื่อกระดาษผลิตได้ง่ายขึ้น ราคาก็ถูกลง ทำให้การพับกระดาษแพร่หลายออกไปในวงกว้าง แต่การถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ทำโดยการสอนจากแม่สู่ลูก โดยยังไม่มีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
แล้วเอกสารที่กล่าวถึงการพับกระดาษของญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดล่ะคืออะไร? เรื่องนี้ตอบได้หลายแบบ เช่น ในปี ค.ศ.1680 มีร้อยกรองสั้นๆ แต่งโดยอิฮะระ ไซกะกุ (Ihara Saikaku) กล่าวถึงกระดาษพับรูปผีเสื้อ ส่วนในปี ค.ศ.1764 ก็มีหนังสือ สึสึมิ-โนะ กิ (Tsutsumi-no Ki) ซึ่งมีแบบพับกระดาษสำหรับพิธีเฉลิมฉลอง
ในยุคแรกๆ นั้นกระดาษเป็นของหายากและมีราคาแพง ทำให้การพับกระดาษในญี่ปุ่นจำกัดอยู่ในแวดวงพิธีกรรมทางศาสนา หรือพวกคนชั้นสูง (เช่น ซามูไร) เท่านั้น ต่อมาเมื่อกระดาษผลิตได้ง่ายขึ้น ราคาก็ถูกลง ทำให้การพับกระดาษแพร่หลายออกไปในวงกว้าง แต่การถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ทำโดยการสอนจากแม่สู่ลูก โดยยังไม่มีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
แล้วเอกสารที่กล่าวถึงการพับกระดาษของญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดล่ะคืออะไร? เรื่องนี้ตอบได้หลายแบบ เช่น ในปี ค.ศ.1680 มีร้อยกรองสั้นๆ แต่งโดยอิฮะระ ไซกะกุ (Ihara Saikaku) กล่าวถึงกระดาษพับรูปผีเสื้อ ส่วนในปี ค.ศ.1764 ก็มีหนังสือ สึสึมิ-โนะ กิ (Tsutsumi-no Ki) ซึ่งมีแบบพับกระดาษสำหรับพิธีเฉลิมฉลอง
ปูตามแบบพับคลาสสิกของญี่ปุ่น (มีแบบพับในขุมทรัพย์ทางปัญญา)
แต่หากกล่าวถึงการพับกระดาษเพื่อความเพลิดเพลิน ก็ต้องบอกว่าหนังสือ เซมบาซุรุ โอริกาตะ (Sembazuru Orikata) หรือ การพับนกกระเรียนพันตัว ซึ่งออกเผยแพร่ในปี ค.ศ.1797 เป็นหนังสือสอนพับกระดาษเล่มแรกของโลก คำว่า เซมบาซุรุ แปลตรงๆ ว่า นกกระเรียนหนึ่งพันตัว แต่ในหนังสือเล่มนี้ หมายถึง นกกระเรียนหลายๆ ตัวที่เชื่อมต่อกัน โดยพับจากกระดาษแผ่นเดียว แต่มีรอยตัดที่บางตำแหน่ง
วงการพับกระดาษในญี่ปุ่นและในโลกมีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก จวบจนราวทศวรรษที่ 1950 ยอดนักพับกระดาษชื่อ โยชิซะวะ อะกิระ (Yoshizawa Akira) ได้คิดแบบพับใหม่ๆ หลายแบบ วิธีการพับใหม่ๆ (เช่น พับกระดาษหนาๆ ขณะเปียก แล้วปล่อยให้แห้ง) รวมทั้งร่วมคิดสัญลักษณ์วิธีการพับซึ่งกลายเป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารของผู้ที่หลงใหลในการพับกระดาษ นับจากเวลานั้นเอง ศิลปะแห่งออริกามิที่ซบเซามานานก็เบ่งบานสะพรั่งไปทั่วโลก
แต่หากกล่าวถึงการพับกระดาษเพื่อความเพลิดเพลิน ก็ต้องบอกว่าหนังสือ เซมบาซุรุ โอริกาตะ (Sembazuru Orikata) หรือ การพับนกกระเรียนพันตัว ซึ่งออกเผยแพร่ในปี ค.ศ.1797 เป็นหนังสือสอนพับกระดาษเล่มแรกของโลก คำว่า เซมบาซุรุ แปลตรงๆ ว่า นกกระเรียนหนึ่งพันตัว แต่ในหนังสือเล่มนี้ หมายถึง นกกระเรียนหลายๆ ตัวที่เชื่อมต่อกัน โดยพับจากกระดาษแผ่นเดียว แต่มีรอยตัดที่บางตำแหน่ง
วงการพับกระดาษในญี่ปุ่นและในโลกมีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก จวบจนราวทศวรรษที่ 1950 ยอดนักพับกระดาษชื่อ โยชิซะวะ อะกิระ (Yoshizawa Akira) ได้คิดแบบพับใหม่ๆ หลายแบบ วิธีการพับใหม่ๆ (เช่น พับกระดาษหนาๆ ขณะเปียก แล้วปล่อยให้แห้ง) รวมทั้งร่วมคิดสัญลักษณ์วิธีการพับซึ่งกลายเป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารของผู้ที่หลงใหลในการพับกระดาษ นับจากเวลานั้นเอง ศิลปะแห่งออริกามิที่ซบเซามานานก็เบ่งบานสะพรั่งไปทั่วโลก
ราวทศวรรษที่ 1970 ศิลปะการพับกระดาษก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง มีการคิดค้นเทคนิคการพับอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้รูปร่างต่างๆ ตามต้องการ และในปัจจุบันได้มีการใช้คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์มาช่วยเสริมจินตนาการให้กลายเป็นรูปธรรม
เต่าทะเล ฝีมือสตีเฟน ไวส์ มีแบบพับในขุมทรัพย์ทางปัญญา
ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดอดใจรอครั้งหน้า ตอนนี้ผมขอนำตัวอย่างแบบพับสวยๆ มายั่วให้คันไม้คันมือเล่นไปพลางๆ ก่อนครับ ^__^
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
1 ความคิดเห็น:
เออ สวย งามดีว๊ะ
แสดงความคิดเห็น