กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ทีนี้ หากมีรูปร่างอะไรสักอย่างเป็นต้นทางแล้วก็อาจจะดัดแปลงได้อีก เช่น เดิมเคยพับกบได้ แต่พอพับใหม่ไปได้บางขั้น ก็อาจฉีกแนวพับไปทางอื่นๆ กลายเป็นดอกไม้แบบต่างๆ หรือแม้กระทั่งหอยทาก การที่แบบพับต่างๆ มีจุดเริ่มต้นคล้ายกันนี้ เรียกว่า แบบพับทั้งหมดมี ฐานแบบพับ (base) เดียวกัน โดยในกรณีนี้เรียกว่า ฐานแบบพับรูปกบ (frog base)
การพับกระดาษในอดีตนั้น มีฐานแบบพับหลักๆ อยู่เพียงไม่กี่แบบ เช่น ฐานแบบพับรูปกบ (frog base) รูปนก (bird Base) รูปหมู (pig base) รูปปลา (fish base) และรูปว่าวกับรูปเพชร (kite and diamond bases) เป็นต้น
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นักพับกระดาษได้ทดลองดัดแปลงฐานรูปต่างๆ เหล่านี้ไปเป็นแบบต่างๆ มากมายจนเรียกได้ว่า หากคุณเริ่มจากฐานได้ฐานหนึ่ง แล้วพับไปเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้มากที่ว่าคุณจะได้แบบพับที่ซ้ำกับสิ่งที่คนอื่นพับมาก่อนหน้านี้แล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ แบบพับคลาสสิกเหล่านี้ได้ถูกสำรวจและดัดแปลงพับจน (แทบจะ) หมดสิ้นแล้วนั่นเอง
ในราวทศวรรษที่ 1970 ได้เกิดมีแนวคิดใหม่ในศาสตร์แห่งการพับกระดาษ จุดเริ่มต้นมาจากข้อสังเกตที่ว่า หากเราคลี่แบบพับหนึ่งๆ ออกมา เราจะเห็นรอยพับและมุมบรรจบต่างๆ โดยความซับซ้อนของรอยพับขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นในการพับนั่นเอง
ในราวทศวรรษที่ 1970 ได้เกิดมีแนวคิดใหม่ในศาสตร์แห่งการพับกระดาษ จุดเริ่มต้นมาจากข้อสังเกตที่ว่า หากเราคลี่แบบพับหนึ่งๆ ออกมา เราจะเห็นรอยพับและมุมบรรจบต่างๆ โดยความซับซ้อนของรอยพับขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นในการพับนั่นเอง
คำถามย้อนกลับที่สำคัญก็คือ หากเราต้องการรูปร่างหนึ่งๆ ในแบบพับ เช่น ขากบ ปีกนก หรือก้ามปู เราจะมีวิธีการออกแบบรอยพับ และขั้นตอนการพับอย่างไร ? การตอบคำถามนี้เองนำไปสู่การ "ออกแบบ" รูปร่างของแบบพับออริกามิอย่างเป็นระบบ โดยการพับรูปแบบต่างๆ จะมีเทคนิคเฉพาะตัว (technical folding) เทคนิคนี้ให้ผลอย่างน่าทึ่ง เพราะรูปร่างที่ได้จะคล้ายกับของจริงอย่างมาก ดูได้จาก "กบ" ซึ่งพับโดย โรเบิร์ต เจ แลง (Robert J. Lang) เป็นตัวอย่าง
แม้กลุ่มคนที่ช่วยกันสร้างสรรค์ออริกามิแนวใหม่จะมีหลายคน แต่ดูเหมือนโรเบิร์ต เจ แลง น่าจะเป็นตัวแทนได้ดี เขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านเลเซอร์โดยอาชีพ แต่รักการพับกระดาษมาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ และพับเป็นงานอดิเรกเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาพบว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมที่เขาร่ำเรียนมานั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการพับกระดาษด้วยเช่นกัน เช่น ในการพับยุบท่อกลวงผิวบางให้กลายเป็นแผ่นแบนๆ นั้น ในทางคณิตศาสตร์ก็เปรียบเสมือนโจทย์ที่ว่าจะจัดเรียงชิ้นส่วนย่อยแต่ละชิ้นให้วางอยู่ในระนาบเดียวกันได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
ด้วยวิธีคิดทำนองนี้เอง โรเบิร์ต เจ แลง จึงได้พัฒนาโปรแกรม TreeMaker ซึ่งใช้ในการคำนวณว่า กระดาษควรจะถูกพับตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีรูปแบบสุดท้ายตามต้องการ ตัวอย่างการคำนวณรอยพับของปู ซึ่งมีก้ามสองข้างขนาดต่างกันเป็นดังรูป
นี่คือ ผลผลิตหนึ่งของศาสตร์ใหม่ ที่เรียกว่า ออริกามิเชิงคำนวณ (Computational Origami) ซึ่งเปิดพื้นที่ให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เข้ามาร่วมสนุกกับศิลปินและใครก็ตามที่หลงใหลในศิลปะการพับกระดาษ
แม้กลุ่มคนที่ช่วยกันสร้างสรรค์ออริกามิแนวใหม่จะมีหลายคน แต่ดูเหมือนโรเบิร์ต เจ แลง น่าจะเป็นตัวแทนได้ดี เขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านเลเซอร์โดยอาชีพ แต่รักการพับกระดาษมาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ และพับเป็นงานอดิเรกเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาพบว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมที่เขาร่ำเรียนมานั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการพับกระดาษด้วยเช่นกัน เช่น ในการพับยุบท่อกลวงผิวบางให้กลายเป็นแผ่นแบนๆ นั้น ในทางคณิตศาสตร์ก็เปรียบเสมือนโจทย์ที่ว่าจะจัดเรียงชิ้นส่วนย่อยแต่ละชิ้นให้วางอยู่ในระนาบเดียวกันได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
ด้วยวิธีคิดทำนองนี้เอง โรเบิร์ต เจ แลง จึงได้พัฒนาโปรแกรม TreeMaker ซึ่งใช้ในการคำนวณว่า กระดาษควรจะถูกพับตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีรูปแบบสุดท้ายตามต้องการ ตัวอย่างการคำนวณรอยพับของปู ซึ่งมีก้ามสองข้างขนาดต่างกันเป็นดังรูป
นี่คือ ผลผลิตหนึ่งของศาสตร์ใหม่ ที่เรียกว่า ออริกามิเชิงคำนวณ (Computational Origami) ซึ่งเปิดพื้นที่ให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เข้ามาร่วมสนุกกับศิลปินและใครก็ตามที่หลงใหลในศิลปะการพับกระดาษ
การถือกำเนิดของออริกามิเชิงคำนวณแสดงให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตาม ที่มีคนรู้จริงซึ่งสามารถผสมผสานภูมิปัญญาจากสาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนแล้วละก็ ผลผลิตที่ได้ย่อมจะมีความงดงามและทรงพลังอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
ขุมทรัพย์ทางปัญญา
1 ความคิดเห็น:
กง มาพับให้บ้างดิ อยากได้
แสดงความคิดเห็น